หน้าแรก > การเมือง

จับตา! ครม. ถกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 1 แสนล้านบาท รวมถึง "คุณสู้ เราช่วย เฟส 2" ช่วยคนไทยปลดหนี้

วันที่ 24 มิถุนายน 2568 เวลา 11:27 น.


24 มิถุนายน 2568 การประชุม ครม.ในวันนี้ โดยมีนางสาวแพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จับตาวาระ ที่คาดว่า จะเข้าสู่การพิจารณา

กระทรวงการคลัง เสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และ ดูแลผลกระทบจากสงครามการค้า งบประมาณ 115,375 ล้านบาท จากงบกลาง วงเงิน 1.57 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 481 โครงการใหญ่ และ 8,939 โครงการย่อย ใน 4 ด้าน

1. ด้านโครงการสร้างพื้นฐาน 85,000 ล้านบาท แยกเป็น

1.1 โครงการน้ำ 39,136 ล้านบาท อาทิ กรมชลประทาน 26,055 ล้านบาท

1.2.โครงการคมนาคม 45,864 ล้านบาท อาทิ กรมทางหลวง 29,160 ล้านบาท

2.ด้านการท่องเที่ยว 10,053 ล้านบาท ในส่วนนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดสรร 3,960 ล้านบาท กรมทางหลวง 3,027 ล้านบาท สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1,133 ล้านบาท

3.ด้านลดผลกระทบส่งออก/ผลิตภาพ 11,122 ล้านบาท แยกเป็น เกษตร 160 ล้านบาท แรงงาน 10,000 ล้านบาท ดิจิทัล 962 ล้านบาท

4. ด้านเศรษฐกิจชุมชนและอื่นๆ 9,201 ล้านบาท แยกเป็นกองทุนหมู่บ้าน 4,000 ล้านบาท พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 1,560 ล้านบาท ทุนมนุษย์ด้านการศึกษา 3,641 ล้านบาท

ดังนั้น ซึ่งส่วนใหญ่ 73% เป็นโครงการสร้างพื้นฐาน โครงการด้านท่องเที่ยว 8.7 % โครงการลดผลกระทบส่งออก/ผลิตภาพ 9.6% และโครงการด้านเศรษฐกิจชุมชนและอื่นๆ 8%

รวมทั้ง มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ กว่า 1.2 แสนล้านบาท และ โครงการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน "คุณสู้ เราช่วย เฟส 2" ต่อเนื่องจากเฟสแรก ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ แต่อาจปรับเงื่อนไข เช่น ลูกหนี้ที่ค้างจ่ายตั้งแต่ 1 วัน ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง ยังเสนอวาระอื่น ๆ อาทิ การขยายระยะเวลาและปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่) ปี 2568

/ ร่างพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษี เพื่อสนับสนุน มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการแปลงเป็นดิจิทัล Digital Transformation ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และ เสนอการดำเนินการเพื่อบริจาคเงินเพิ่มทุนในกองทุนพัฒนาเอเชีย 14

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานและจะรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานระบบของผู้ใช้ การเรียกดูเว็บไซต์ของเราในหน้าต่างๆ กรุณายอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา

อ่านเพิ่มเติมยอมรับ