วันที่ 5 พฤษภาคม 2568 เวลา 21:15 น.
5 พฤษภาคม 2568 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหารรายงานสถานการณ์โรคแอนแทรกซ์จังหวัดมุกดาหาร พบผู้ป่วยยืนยันรวมทั้งหมด 3 รายโดยเป็นผู้เสียชีวิต 1 รายและยังรักษาอยู่ 2 ราย (ทั้งสามรายมีประวัติเป็นผู้ชำแหละเนื้อวัว) มีกลุ่มผู้สัมผัสที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรค 536 คน คงเหลือผู้ที่ต้องเฝ้าระวังต่อจำนวน 98 คนส่วนที่เหลือสิ้นสุดระยะในวันที่10 พฤษภาคม 2568 ซึ่งการเฝ้าระวังโรค จะเฝ้าระวัง ในระบบ ทางเดินอาหารและการติดต่อจากการสัมผัส
นพ.ณรงค์ จันทร์แก้ว นายแพทย์ สสจ.มุกดาหาร เปิดเผยว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ได้มีการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค ดังนี้
1 ด้านคนมีการค้นหาผู้สัมผัสในชุมชนพบผู้สัมผัส 638 คนและมีการจ่ายยาเพื่อป้องกันโรคครบทุกราย
2.ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มีการลงพื้นที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อ ในบ้านกลุ่มเสี่ยงที่นำเนื้อกลับไปรับประทานที่บ้านจำนวน 23 ครัวเรือน โดยได้ดำเนินการทำความสะอาด ตู้เย็นและพื้นครัว ด้วยน้ำยา 0.5% โซเดียมไฮโปรคลอไรด์ สวนมีดและเขียง ได้นำไปฝังกลบต่อไปโดยทีมเจ้าหน้าที่
นพ.ณรงค์ จันทร์แก้ว นายแพทย์ สสจ.มุกดาหาร กล่าวว่า วันที่ 5 พ.ค.2568 ได้มอบหมาย นางพันธ์ฉวี สุขบัติ รองนพ.สสจ.มุกดาหาร นำทีมควบคุมสอบสวนโรค ลงพื้นที่ ร่วมกับทีม ปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอ ทีมสาธารณสุขอำเภอดอนตาล , รพ.สต.เหล่าหมี ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม ฆ่าเชื้อแอนแทรกซ์ ในเขียงมีด ตู้เย็น ในครัวเรือน และนำเขียงมีดที่สงสัยปนเปื้อนไปฝัง, มีการเอาดินไปฝังกลบบริเวณที่ตรวจพบเชื้อแอนแทรกซ์ 2 คันรถ หลังจากฉีดด้วยโซดาไฟ, มีการตามรอยซากเนื้อจากที่ชำแหละไปถึงแหล่งทิ้ง
ด้าน นายสัตวแพทย์ต่อพงศ์ ประเสริฐสังข์ ปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร เปิดเผยว่า เพื่อความมั่นใจสำหรับเกษตรกรกับประชาชน โรคแอนแทรกซ์เป็นโรคสัตว์สู่คน โรคจากสิ่งแวดล้อมสู่คน หากเกิดจากสัตว์เองต้องควบคุมโรคให้อยู่ในวงที่จำกัด โดยได้ดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
1. กักฝูงโคที่เสียง 123 ตัว ในเกษตรกร 21 คน ที่สงสัยว่าเป็นต้นเหตุการติดเชื้อในคนฉีดยาปฏิชีวนะ penicilin 7 วันและกักสังเกต อาการอย่างน้อย 20 วัน
2. ไม่ให้ มีการนำวัวไปเลี้ยงในพื้นที่แปลงหญ้า หรือแหล่งน้ำในบริเวณที่มีความเสี่ยงการปนเปื้อนเชื้อ
3. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ในโค กระบือ ที่เลี้ยง ในพื้นที่โดยรอบรัศมี 5 กม จำนวน 1,222 ตัว
4. ทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงด้วยโซดาไฟ โดยเฉพาะจุดเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ที่เชือด สิ่งแวดล้อม
5. ประชาส้มพันธ์ แจ้งเกษตรกร หากทพบสัตว์ ป่วย ตาย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ห้ามชำแหละ หรือน่าไปบริไภค และไม่ให้บริโภคเนื้อดิบ
6 สอบสวนโรค และค้นหาสัตว์ป่วย รวมถึงเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ เก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อม น้ำ ดิน ในพื้นที่เสี่ยง ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
7. ตั้งจุดตรวจโดยจนท.ด่านกักกันสัตว์ เพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ ไม่ให้นำสัตว์ในพื้นพื้นที่เสียงออกนอกพื้นที่
ทั้งนี้ จังหวัดมุกดาหารได้ตั้งศูนย์ประสานงานร่วมฯทั้ง ปกครอง สาธารณสุข ปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ วัดโพนสว่าง บ้านโคกสว่าง หมู่ 6ตำบลเหล่าหมี อ.ตอนตาล จ.มุกดาหาร
ข่าว - สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดมุกดาหาร
21 พฤษภาคม 2568
21 พฤษภาคม 2568
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานและจะรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานระบบของผู้ใช้ การเรียกดูเว็บไซต์ของเราในหน้าต่างๆ กรุณายอมรับนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา
อ่านเพิ่มเติมยอมรับ