หน้าแรก > ต่างประเทศ

นักวิจัยพบหัวลูกศรมีอายุกว่า 3,000 ปี ใกล้ทะเลสาบในยุโรป แต่ทำจากอุกกาบาต

วันที่ 9 สิงหาคม 2023 เวลา 13:15 น.


วันที่ 9 สิงหาคม 2566 สำนักข่าวต่างประเทศ มีการรายงานถึงการค้นพบอาวุธลักษณะคล้ายหัวลูกศรอายุ 3,000 ปี บริเวณไซต์โบราณยุคสำริดที่เรียกว่า "Mörigen" ในสวิตเซอร์แลนด์ ยาว 39 มม. (ยาว 1.5 นิ้ว)  โดยนักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งกรุงเบิร์นคาดว่าอาวุธชิ้นนี้สร้างจาก "อุกกาบาต" 

เนื่องจากองค์ประกอบของอาวุธเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นด้วย “เหล็กจากอุกกาบาตที่ตกลงในเอสโตเนีย” บ่งชี้ว่ามีการซื้อขายเหล็กอุกกาบาตในยุโรปตั้งแต่ 800 ปีก่อนคริสตกาลหรือก่อนหน้านั้น

นักวิจัยกล่าวว่า การพบหลักฐานว่ามีการใช้เหล็กอุกกาบาตตั้งแต่ช่วงต้น ๆ ของประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา “หลักฐานว่ามีการใช้เหล็กอุกกาบาตในช่วงเวลานั้น เป็นสิ่งที่หายากมาก  เพราะในเวลานั้น มนุษย์ยังไม่รู้จักการหลอมเหล็กจากหมู่แร่ออกไซด์ด้วยซ้ำ จึงยากที่จะพบอุปกรณ์เครื่องใช้หรืออาวุธที่ทำจากเหล็ก กระนั้น เหล็กโลหะบางชนิดที่พบในจุดที่อุกกาบาตตก ทำให้มนุษย์ในยุคสำริดนำเหล็กมาใช้ก่อนที่จะมีความรู้เรื่องการหลอมเหล็กได้

ที่ผ่านมา มีการพบวัตถุที่ทำจากเหล็กอุกกาบาตทั้งใน ตุรกี กรีซ ซีเรีย อิรัก เลบานอน อียิปต์ อิหร่าน รัสเซีย และจีน แต่วัตถุที่ถูกนำมาขึ้นรูปเป็นสิ่งประดิษฐ์หรืออาวุธนั้น เคยพบเพียง 2 ชิ้นเท่านั้นบนโลก 

โดยพบที่โปแลนด์ ส่วนหัวลูกศรในสวิตเซอร์แลนด์นี้ นับเป็นชิ้นที่ 3  ซึ่งอย่างไรก็ตาม มีเพียงอุกกาบาต 3 ชนิดเท่านั้นที่มีส่วนผสมของโลหะที่เหมือนกันซึ่งตกลงมายังโลกในช่วงเวลาเดียวกันในยุโรป หนึ่งในนั้นอยู่ในสาธารณรัฐเช็ก อีกลูกในสเปน และลูกที่ 3 ในเอสโตเนีย

ก่อนหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญตั้งสมมติฐานว่า เหล็กที่ใช้ทำหัวลูกศรอาจมาจากอุกกาบาตทวานน์เบิร์ก (Twannberg) ซึ่งจุดที่ตกลงสู่พื้นโลกอยู่ห่างเพียงไม่กี่กิโลเมตรจากจุดที่พบหัวลูกศรโบราณ  ผลการวิเคราะห์เหล็กแสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ และไม่ใช่วัตถุจากอุกกาบาตที่ตกในโปแลนด์ด้วย

นักวิจัยระบุว่า มีอุกกาบาตเพียง 3 ชิ้นเท่านั้นในยุโรปที่มีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายกัน แต่แหล่งที่มาที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ จากกาลียาร์ฟ (Kaalijarv) ในประเทศเอสโตเนีย เนื่องจากอุกกาบาตลูกนี้พุ่งตกลงมาเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล และ “ทำให้เกิดชิ้นส่วนอุกกาบาตขนาดเล็กจำนวนมาก”

เบดา ฮอฟมันน์ หัวหน้าแผนกวิทยาศาสตร์โลกของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งกรุงเบิร์น หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า เศษชิ้นส่วนเหล่านี้บางส่วนถูกเคลื่อนย้ายไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าไปยังจุดที่เป็นสวิตเซอร์แลนด์ในปัจจุบัน และการค้าทั่วยุโรปในช่วงยุคสำริดเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับ พวกเขามีทั้งอำพันจากทะเลบอลติก ดีบุกจากคอร์นวอลล์ ลูกปัดแก้วจากอียิปต์และเมโสโปเตเมีย”

ที่มา  https://edition.cnn.com/.../arrowhead.../index.html

ข่าวยอดนิยม


ข่าวยอดนิยม